ความรู้เกี่ยวกับชาเขียว

ปัจจุบัน ชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งเพาะปลูกหลายจังหวัดมาก ซึ่งแหล่งปลูกชาเขียวที่มีชื่อเสียงแต่โบราณคือ เมือง อุจิ จังหวัดเกียวโต Uji Kyoto แต่ในปัจจุบัน แหล่งปลูกชาเขียวได้เพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งปัจจุบัน ชาเขียวที่วางขายตามซุปเปอร์มาเก็ตส่วนใหญ่จะผลิตที่ จังหวัด Shizuoka และ จังหวัด Kagoshima เป็นส่วนมาก คุณภาพของชาก็จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้เพาะปลูก สภาพภูมิอากาศในแต่พื้นที่ และการดูแลเอาใจใส่ กว่าจะเก็บเกี่ยวชาเขียวได้ในแต่ละครั้งนั้น เกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่เจ้าต้นชาเป็นอย่างมาก ในฤดูร้อนที่มีแมลงมากมายคอยรบกวนต้นชาอยู่หลายชนิดทำให้เกษตรกรต้องทำงานหนักท่ามกลางแดดที่ร้อนอบอ้าว หากแมลงบุกมาก ชาจะเกิดความเสียหายและเกิดโรคได้ง่าย การฉีดพ่นยากำจัดแมลงนั้นก็สามารถทำได้เหมือนกัน แต่ในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีการควบคุมการฉีดพ่นสารเคมีอย่างเข้มงวด สารเคมีที่ใช้นั้นต้องถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ซึ่งไม่ได้ช่วยให้แมลงหมดสิ้นไปทั้งหมด ส่วนการเก็บเกี่ยวชาเขียวนั้นมีอยู่สามวิธี ได้แก่ ใช้มือเด็ด ใช้กรรไกรตัด และใช้เครื่องจักร

แหล่งปลูกชาเขียวที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น

ในสมัยก่อน ชาเขียวจากจังหวัด อุจิ โตเกียว uji tokyo มีชื่อเสียงมาก แต่เนื่องจากต้นทุนที่สูงและพื้นที่จำกัด ทำให้ ปัจจุบัน ชาเขียวที่ผลิตจากเมืองอุจิล้วนๆ 100% แทบจะไม่มีแล้ว แต่กลายเป็นเพียงส่วนผสมกับชาแหล่งผลิตอื่นๆ เสียมากกว่า โดยชาเขียวที่มีชื่อเสียงจังหวัดอื่นๆ รองลงไปก็จะเป็นชาเขียว อิเซะชา จากเมือง อิเซะ (ise) จังหวัด มิเอะ (mie) ซึ่งมีรสชาติหอมอร่อยไม่แพ้กัน ในราคาที่ถูกกว่า

ประโยชน์ของชาเขียว

ชาเขียวมีส่วนประกอบของ คาเทชิน catechin ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่เป็นพิษในร่างกาย (antioxidant) ช่วยลดการจับไขมัน และลดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ เรียกได้ว่า ช่วยชะลอความแก่ได้ดีเลยทีเดียว
นอกจากนี้ชาเขียวยังมีส่วนประกอบของ โพลีฟีนอล ที่สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน และ โรคมะเร็งได้ และป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ได้ดี แต่ในขณะเดียวกัน ชาเขียวก็มีส่วนผสมของ คาเฟอีน ด้วยเช่นกัน ถ้าดื่มในปริมาณมาก จะมีผลเสียต่อร่างกาย ดังนั้น ไม่ใช่ว่าจะดื่มชาเขียวมากๆ แล้วจะดีเสมอไป แต่ควรดื่มเป็นประจำมากกว่า สนใจสินค้าคลิ๊ก ชาเขียว คาเทชิน

ชาเขียวญี่ปุ่น เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิต ชาเขียวญี่ปุ่น ในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูป มีกันอย่างแพร่หลายทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติความอร่อยของชาเขียว แก้กระหายทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงเทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียวญี่ปุ่น หรือข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาเขียวที่มีต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความอ้วน และป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคชาเขียวในปริมาณสูงเกินไปโดยไม่ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกาย

ผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาเขียวญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ชาเขียว ก็คือ ใบชา (Camellia Sinensis) ที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว ทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และยังมีสีที่ค่อนข้างเขียวจึงเรียกว่า ชาเขียว สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate)

ชาเขียวญี่ปุ่น เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิต ชาเขียวญี่ปุ่น ในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูป มีกันอย่างแพร่หลายทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติความอร่อยของชาเขียว แก้กระหายทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงเทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียวญี่ปุ่น หรือข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาเขียวที่มีต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความอ้วน และป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคชาเขียวในปริมาณสูงเกินไปโดยไม่ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกาย

ผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาเขียวญี่ปุ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ชาเขียว ก็คือ ใบชา (Camellia Sinensis) ที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว ทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และยังมีสีที่ค่อนข้างเขียวจึงเรียกว่า ชาเขียว สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate)

Itoen Oi Ocha (อิโตเอ็น โอ้ย โอะชะ) คือยี่ห้อชาเขียวที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 ของญี่ปุ่น ด้วยการที่เป็นบริษัทชาเขียวที่ใหญ่ที่สุด จึงมีผลิตภัณฑ์หลายร้อยชนิด แน่นอนว่า รสชาติชาเขียวญี่ปุ่นแท้ๆ แน่นอน ปัจจุบันไม่ได้มีแต่เฉพาะชาเขียวเท่านั้น แต่ยังผลิตชาอื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ จึงทำให้สินค้าผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้บริโภคสามารถดื่มชาเขียวคุณภาพได้ในราคาที่ถูกและด้วยคุณภาพของชาเขียวที่คัดเลือกมาแล้วอย่างดี ชาเขียวอิโตเอ็นจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น โดยมีทั้งเป็นผงชาเขียวที่สามารถนำมาชงดื่มเองได้ หรือจะเป็นแบบขวดพร้อมดื่ม ชาเขียวญี่ปุ่น แบบผง (ชาเขียวมัทฉะ)

  1. ITOEN Oi Instant Green Tea Powder with Matcha
  2. ITOEN Hojicha (Roasted Green Tea)
  3. ITOEN Tea, Green Ichiban
  4. ITOEN Oi Ocha Green Tea, 20-Count, 1.4 Ounce Boxes
  5. ITOEN Genmaicha (Brown Rice Tea)
  6. ITOEN Houji Tea Powder ชาเขียวญี่ปุ่น (Green tea) แบบขวดพร้อมดื่ม

 

    หลายคนอาจจะคิดว่า ชงชาไม่เห็นจะยากอะไร แค่เอาใบชาใส่แล้วเอาน้ำร้อนเติมลงไป ซักพักก็ใช้ได้แล้ว แต่จริงๆไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป โดยเฉพาะการชงชาจากใบชา ไม่ใช่ชาที่อยู่ในถุงชงสำเร็จรูป จริงๆแล้วจะมีขั้นตอนการชงชาที่ทำให้ได้รสชาติที่ดีเยี่ยมที่สุด  เราจึงมีเคล็ดลับการชงชามาฝากคุณผู้อ่านเป็นการแถมท้ายด้วยค่ะ

 

   ปริมาณชาที่จะใช้ จะขึ้นกับรูปร่าง ลักษณะและคุณภาพของใบชา โดยมากจะใส่ประมาณ 25-30% ของความจุกาน้ำชา แต่ถ้าใครไม่ชอบรสชาเข้มข้นอาจจะลดปริมาณชาให้น้อยลงได้ค่ะ
อุณหภูมิน้ำ น้ำจะชงชาเป็นน้ำร้อนแต่ไม่ใช่น้ำเดือดอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเสมอไป ชาแต่ละชนิดจะใช้น้ำที่อุณหภูมิที่ชงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับรูปร่างและชนิดของชา เช่น ชาที่มีใบกลมแน่น จะใช้น้ำที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียสขึ้นไป ชาที่มีใบเรียวเล็กหรือชาที่ยอดใบอ่อนเยอะอย่างชาขาว จะใช้น้ำที่อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส ส่วนชาเขียวมักจะชงที่น้ำอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสลงไปเล็กน้อย
กาน้ำชาที่จะทำให้ได้รสชาติของชาดีที่สุดคือ กาดินเผา หรือกาเซรามิค


   วิธีการชงชานั้น จะแนะนำให้เอาน้ำร้อนเทใส่กาชาไว้ และเทออก เพื่ออุ่นกาชาก่อน หลังจากนั้นจึงตักใบชาใส่ลงไปตามที่ต้องการ (โดยมาก 25-30% ของความจุกาชา) แล้วจึงเทน้ำร้อนลงไปประมาณครึ่งกา แล้วเทน้ำออกใน 5 วินาที (ขั้นนี้เป็นการอุ่นใบชา ไม่ต้องเสียดายน้ำนี้นะคะ) หลังจากนั้นจึงเทน้ำร้อนลงไปจนเต็มกา และปิดฝากาไว้ เทน้ำร้อนไว้ที่ฝากาเล็กน้อยด้วย (เพื่อเป็นการกักความหอมของชาไว้ในการไม่ให้ระเหยออกมาหมด) รอประมาณ 40-60 วินาที จึงรินชามาดื่มค่ะ   

   ชา  1 กานั้น สามารถเติมน้ำเพื่อชงซ้ำได้ประมาณ 4-6 ครั้ง หรือจนกว่าความหอมของชาจะหมดไป และแต่ละครั้งควรเพิ่มระยะเวลาในการรอน้ำชาหลังจากเติมน้ำครั้งละ 10-15 วินาทีด้วยค่ะ
การชงชาแต่ละครั้ง ควรรินน้ำชาให้หมดกาเสียก่อนจึงค่อยเติมน้ำร้อนลงในกาใหม่ ถ้าไม่รินน้ำชาเก่าออกให้หมด ชาจะเสียรสชาติ อาจมีรสขมหรือฝาดเพิ่มขึ้น และยังอาจทำให้ท้องผูกได้ด้วย
ใบชาที่ชงเสร็จแล้ว อย่ารีบนำไปทิ้งนะคะ เราสามารถเอาใบชาที่ชงแล้วไปตากแห้งและนำมายัดหมอนที่นอนแทนนุ่น จะช่วยให้หลับสบายขึ้น หรือนำใบชาเหล่านี้ไปประกอบอาหารเมนูใหม่ๆเพื่อทานได้ด้วยค่ะ

ปกติแล้วถ้าพูดถึงชาญี่ปุ่น คนทั่วไปก็คงจะคิดถึงแต่ชาเขียวที่วางขายกันทั่วไป ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่นไปแล้ว คนญี่ปุ่นเรียกชาเขียวพวกนี้ว่า "เรียวกุฉะ" (緑茶 - Ryokucha) แปลว่า ชาที่มีสีเขียว นั่นเอง เป็นชาที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มมากที่สุด ชาเขียวญี่ปุ่นมีอยู่มากมายหลายชนิด เราสามารถแบ่งชนิดของชาเขียวได้จากวิธีการปลูก, วิธีการผลิต, และช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยว ซึ่งหลักๆ แล้ว ชาเขียวญี่ปุ่นจะแบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้

 

1. เกียวคุโระ (玉露 - Gyokuro)

ชาเขียวที่มีคุณภาพดีที่สุด ทำจากใบชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกของปีราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยต้นชาจะถูกคลุมไม่ให้โดนแดด 20-30 วันก่อนจะเก็บใบ ชาเขียวประเภทนี้นิยมใช้ในพิธีการต่างๆ เท่านั้น เพราะมีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตชาเขียวเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น

2. เซนฉะ (煎茶 - Sencha)

ชาเขียวระดับมาตรฐานที่มีคุณภาพรองจากเกียวคุโระ เป็นชาที่คนญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน มีการผลิตชาเขียวเซนฉะมากถึง 80% ของชาที่ผลิตในประเทศทั้งหมด ชาเขียวเซนฉะใช้ใบชาที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกหรือครั้งที่สองก็ได้ จะเป็นใบชาที่มีการปลูกโดนแสงแดดตลอดเวลาจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะนำใบชาไปอบไอน้ำทันทีและม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด

ชาเขียวเซนฉะแบ่งย่อยเป็นชาได้อีกหนึ่งชนิด คือ ฟุกะมุชิฉะ (深蒸し茶 - Fukamushicha) เป็นชาที่ใช้ใบชาเดียวกับเซนฉะ (sencha) แต่อบไอน้ำนานกว่า 2-3 เท่า ทำให้ได้สีและรสชาติที่เข้มกว่าเซนฉะ
ปัจจุบัน ชาเขียวฟุกะมุชิ เป็นที่นิยมมากในญี่ปุ่น เนื่องจาก ได้รสชาติชาเขียวที่กลมกล่อมขึ้นกว่าการอบธรรมดา

3. บันฉะ (番茶 - Bancha) หรือ โฮจิฉะ (ほうじ茶 - Hojicha)

คือชาเขียวที่เกิดจากการเก็บเกี่ยวหลังจากในช่วงแรกและช่วงที่สอง ส่วนใหญ่จะทำจากใบชาที่มีลักษณะเป็นใบแข็งมากกว่าในช่วงแรก รสชาติจะออกขมกว่าเกียวคุโระและเซนฉะ ถ้าเรานำบันฉะไปอบด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะได้ใบชาหอม สีน้ำตาลแดง เรียกว่า "โฮจิฉะ" นั่นเอง ซึ่งเป็นรสชาติของชาอีกแบบนึงที่คนหลงไหลไม่น้อย

นอกจากชาเขียว 3 ประเภทที่เล่ามานี้ ยังมีชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก นั่นก็คือ มัทฉะ (抹茶 - Matcha) หรือ ชาเขียวผง (powdered green tea) มัทฉะเป็นชารูปแบบใหม่ที่พระเอย์ไซได้รับมาจากราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ.960-1279) ของจีน โดยพระเอย์ไซได้นำยอดอ่อนใบชาสีเขียวสดที่เพิ่งเก็บมาอบด้วยไอน้ำ ตากให้แห้งในอุณหภูมิอุ่นกำลังดี จากนั้นก็นำใบชาไปบดให้ละเอียด นำผงชาเขียวที่ได้ใส่ลงในชาม เติมน้ำร้อน คนจนผงชาละลายแล้วนำมาดื่ม การบดชาเขียวจนเป็นผงจะช่วยให้ชาเขียวมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ซึ่งการดื่มชาในลักษณะนี้ได้กลายเป็นต้นแบบของชาที่ใช้ดื่มในพิธีชงชา (茶道 - Chadou) ที่มีชื่อเสียงมากของญี่ปุ่นนั่นเอง

ความจริงแล้วยังมีชาญี่ปุ่นอยู่อีกมากมายหลายชนิดที่มีคุณภาพและรสชาติไม่น้อยไปกว่าชาเขียว แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น เกมมัยฉะ (玄米茶 - Genmaicha) เกิดจากการนำบันฉะไปผสมกับข้าวกล้องคั่ว หรือ มุกิฉะ (麦茶 - Mugicha) คือชาที่ทำจากข้าวบาร์เลต์ที่ผ่านการอบแห้งในเตาพร้อมเปลือก นิยมนำมาแช่เย็น ดื่มในฤดูร้อน เพื่อให้ชดชื่นคลายร้อนได้ดี และชาสมุนไพรต่างๆ เช่น ชาโซบะ ชาสาหร่ายคมบุ ชาโกโบะ เป็นต้น และชาอื่นมากมาย

เอาใจคนรักชาเขียวและผู้ที่รักสุขภาพความงาม ด้วยสูตรพอกหน้าจากชาเขียว ที่แสนจะง่ายดายแต่ได้ผลดีระดับสปาหรู เพราะมาร์คพอกหน้านี้ทำจากธรรมชาติล้วนๆ จริงๆ จึงไม่มีสารพิษตกค้างบนใบหน้าอย่างแน่นอน อีกทั้งในชาเขียวนั้นมีสารโพลีฟีนอลอยู่เป็นจำนวนมาก และมีสารที่มีคุณสมบัติช่วยขจัดสารพิษ Epigallocatechin gallate (EGCG) ที่ช่วยกำจัดสารพิษหรือสารปนเปื้อนได้อย่างน่าอัศจรรย์
สาวๆญี่ปุ่นจึงมักใช้ชาเขียวมาพอกหน้าเพื่อลดสิ่งสกปรกบนใบหน้า ช่วยลดสิวได้อย่างดี นอกจากนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาเขียวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ได้ดีกว่าวิตามิน E ถึง 20 เท่า ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวใหม่ได้หากนำชาเขียวมาบำรุงผิวหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าของคุณกระจ่างใส ฟื้นฟูและปรับสภาพผิวให้ขาวผ่องใสขึ้นอีกด้วย

วันนี้ Thaimatcha.com เรามีสูตรพอกหน้าขาวใสด้วยชาเขียวมาฝากกันค่ะ

ส่วนผสมดังนี้

  • 1. ผงชาเขียว 1 ช้อนโต๊ะ
  • 2. น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา หรือหากไม่มีใช้โยเกิร์ตแทนได้
  • 3. แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า 1 ปริมาณตามความเหมาะสม เพื่อให้ส่วนผสมจับตัวกันได้

ขั้นตอนการทำมาร์คพวกหน้า

  • 1. นำผงชาเขียวผสมกับน้ำผึ้งหรือโยเกริตและแป้งสาลีให้เข้ากัน
  • 2. ทาให้ทั่วหน้า เว้นรอบดวงตาและริมฝีปาก ทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  • สูตรนี้จะช่วยขจัดสารพิษและสิ่งสกปรกของสารพิษให้ออกไปอย่างหมดจด ลดสิวอุดตัน หรือสิ่งอุดตันรูขุมขนได้ดีอีกด้วย
  • สรรพคุณชาเขียว ข้อดี-ข้อเสีย ของชาเขียว แนะนำวิธีดื่มอย่างไร ให้ได้ประโยชน์

    ประโยชน์ของชาเขียว

    ชาเขียวมีสรรพคุณหลายอย่างมากมาย โดยเฉพาะสาร คาเทชิน (catechin) ที่อยู่ในชาเขียว มีคุณสมบัติช่วยลดและต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่เป็นพิษในร่างกายและการเกิดโรคมะเร็ง โดยจะขับออกมาทางอุจจาระ และขับไขมันส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นคุณสมบัติเฉพาะของชาเขียวร้อน ที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่ม กันตั้งแต่เด็กจนแก่แต่คนไทยส่วนมาก ด้วยความที่ไม่รู้จักคุณสมบัติที่แท้จริงของชาเขียว เน้นความอร่อยอย่างเดียว เลยทำให้คิดเอาเองว่าแค่ดื่มชาเขียวก็ได้ประโยชน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นร้อนหรือเย็นก็ตาม แต่เห็นทีคราวนี้ต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่เสียที

    • 1. มีส่วนช่วยในขบวนการ การกำจัดไขมันโคเรสเตอรอลในหลอดเลือด ซึ่งทำให้ลดภาวะความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จากการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด
    • 2. ช่วยในการขับสารพิษ และสารอนุมูลอิสระ จึงส่งผลในการป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็งและโรคความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
    • 3. ช่วยทำให้ร่างกายของเรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากมีผลในการกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์

    ชาเขียวแนะนำ - ชาเขียวยี่ห้อที่ลูกค้าบอกว่าอร่อยสุดๆ หอมมาก